หุ่นยนต์กับการช่วยพัฒนาสุขภาพจิตใจ

หุ่นยนต์กับการช่วยพัฒนาสุขภาพจิตใจ

องค์การอนามัยโลกแนะนำให้นายจ้างดำเนินการส่งเสริม ปกป้องสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงาน แต่การดำเนินการมักถูกจำกัดด้วยเรื่องทรัพยากรและบุคลากรไม่เพียงพอ การนำหุ่นยนต์มาทดแทนได้ตอบโจทย์ว่าช่วยแก้ไขช่องว่างนี้ แต่การศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่เชื่อมโยงกับสุขภาพจิตนั้นส่วนใหญ่มักทดลองในห้องปฏิบัติการ นักวิจัยคิดว่าต้องนำหุ่นยนต์ออกจากห้องทดลองและศึกษาว่ามันมีประโยชน์อย่างไรในโลกแห่งความเป็นจริง

สุขภาพ

ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในอังกฤษได้ทำการศึกษาในบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีโดยใช้หุ่นยนต์เป็นผู้ฝึกสอนเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตในการทำงาน มีพนักงาน 26 คน เข้าร่วมทดสอบเป็นเวลา 4 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มอยู่กับหุ่นยนต์ 2 แบบที่แตกต่างกัน กลุ่มแรกอยู่กับหุ่นยนต์ “มิสตี” สูง 36 ซม. คล้ายของเล่น ส่วนอีกกลุ่มอยู่กับ “คิวที” หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์คล้ายเด็กสูงราว 90 ซม. โดยทั้ง 2 แบบจะมีเสียง สีหน้าบนหน้าจอและระบบการสอนที่เหมือนกัน นักวิจัยพบว่าลักษณะทางกายภาพของหุ่นยนต์ส่งผลต่อวิธีที่ผู้เข้าร่วมวิจัย พนักงานที่อยู่กับ “มิสตี” เผยว่ารู้สึกผูกพันกับหุ่นยนต์ เพราะดูเรียบง่ายกว่า ทำให้มีความคาดหวังที่ต่ำกว่าและพูดคุยกับหุ่นยนต์ได้ง่ายกว่า ขณะพวกที่อยู่กับ “คิวที” พบว่าความคาดหวังของพนักงานไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากคาดหวังว่าหุ่นยนต์จะมีพฤติกรรมเหมือนมนุษย์ แต่ไม่เป็นไปตามที่คาดเลยไม่ค่อยประทับใจนัก

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความเป็นจริง นักวิจัยมองว่าศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์สามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงาน การพูดสิ่งต่างๆออกมาดังๆ แม้กระทั่งกับหุ่นยนต์ก็มีประโยชน์ต่อการพยายามปรับปรุงสภาพจิตใจ.

อ่านข่าวอื่นๆเพิ่มเติม ได้ที่นี่ : กรมสุขภาพจิต แนะ ญาติของผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด

กรมสุขภาพจิต แนะ ญาติของผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด

กรมสุขภาพจิต แนะ ญาติของผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด หมั่นสังเกตอาการ พาเข้าพบแพทย์ตามนัด

เป็นที่ทราบกันว่า ผู้ป่วยจิตเวช และผู้ติดยาเสพติด ควรเข้าพบแพทย์ เมื่อรับการประเมิน ตลอดจนรับยา หรือการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพราะหากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม อาจส่งผลให้มีอาการแย่ลง หรืออาจเป็นอันตรายต่อบุคคลในครอบครัวหรือผู้อื่นได้

อาการทางจิตเวช เป็นผลจากระบบสารเคมีในสมองผิดปกติจนนำไปสู่อาการต่าง ๆ ในด้านความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และการรับรู้ต่างจากความเป็นจริง โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาที่ออกฤทธิ์ปรับการทำงานของสารสื่อประสาทเหล่านั้นให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วและต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้สามารถฟื้นคืนสภาวะจิตใจ และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคม

สุขภาพ

กรมสุขภาพจิต แนะนำให้ญาติและผู้ใกล้ชิดเสียสละเวลา ใช้พลังกายและพลังใจในการใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้ติดยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการกินยาอย่างสม่ำเสมอ คอยพาพบแพทย์ตามนัด รับฟังและให้กำลังใจ ไม่กระตุ้นอารมณ์ ทำความเข้าใจยอมรับเพื่อช่วยผู้ป่วยสามารถปรับอารมณ์ ความคิด พฤติกรรมที่เหมาะสมและร่วมพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยจิตเวช

ควรให้ผู้ป่วยพักผ่อนเพียงพอ ไม่ดูหนังหรือเล่นเกมนานเกินไป พยายามทำกิจกรรม ออกกำลังกาย ทำงาน งดเสพสิ่งมึนเมา สารกระตุ้นหรือยาเสพติด และห้ามมีอาวุธหรือวัตถุที่เป็นอาวุธได้ในที่พัก ผู้ป่วยและญาติควรช่วยกันฝึกวินัยการกินยาต่อเนื่อง สังเกตอาการข้างเคียงของยาและมาพบแพทย์ตามนัดหรือทันทีหากพบอาการผิดปกติ โดยสัญญาณเตือนของอาการกับเริบ ได้แก่ ไม่หลับไม่นอน เดินไปเดินมา พูดจาคนเดียว หงุดหงิดฉุนเฉียว คิดหวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน ก้าวร้าว ทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น แยกตัวออกจากสังคม อยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> สธ. หนุน “รอบเอวไม่เกินส่วนสูงหารสอง” กลุ่มวัยทำงาน-ผู้สูงอายุ

สธ. หนุน “รอบเอวไม่เกินส่วนสูงหารสอง” กลุ่มวัยทำงาน-ผู้สูงอายุ

สธ. หนุน “รอบเอวไม่เกินส่วนสูงหารสอง” กลุ่มวัยทำงาน-ผู้สูงอายุ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

แม้ว่าประเด็นเรื่องการยอมรับความแตกต่างทางด้านส่วนสูง น้ำหนัก จะเป็นประเด็นที่กำลังได้รับการขับเคลื่อนในขณะนี้ แต่ปัจจัยทางด้านสุขภาพองค์รวมที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากการมีสุขภาพที่ดีนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว

เตรียมสังคมไทย สู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพ

นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มตัวแล้ว แต่การจะทำให้ประชาชนก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยคุณภาพนั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการส่งเสริมสุขภาพ ตั้งแต่วัยทำงานจนกระทั่งถึงวัยสูงอายุ ให้มีสุขภาพที่ดี ด้วยการประเมินและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงก่อนที่จะเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในวัยสูงอายุ จากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 ปี 2557 – 2558 พบว่า สัดส่วนประชากรที่มีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีรอบเอวเกิน เมื่อใช้เกณฑ์รอบเอวปกติน้อยกว่าส่วนสูงหารสอง เท่ากับร้อยละ 4.9 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่มีดัชนีมวลกายปกติ ก็มีรอบเอวเกินได้ ดังนั้น การประเมินสุขภาพเบื้องต้นโดยใช้เกณฑ์ดัชนีมวลกายเพียงอย่างเดียว จึงไม่สามารถคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนได้ทั้งหมด

สุขภาพ

ประเมินโรคอ้วนด้วย ดัชนีมวลกาย และรอบเอวไม่เกินส่วนสูงหารสอง

​นพ.ธงชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ เพื่อส่งเสริมให้คนวัยทำงานและผู้สูงอายุ มีภาวะโภชนาการดี และสุขภาพดี พร้อมทั้งขับเคลื่อนการใช้เกณฑ์การประเมิน 2 เกณฑ์ ได้แก่:

  1. ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  2. ค่ารอบเอวปกติไม่เกินส่วนสูงหารสอง

โดยเกณฑ์ทั้งสองสามารถบ่งชี้ภาวะอ้วนลงพุง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ได้แม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้ ค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนเอเชียที่อยู่ในวัยทำงานและผู้สูงอายุยังคงใช้เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก คือ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18.5 – 22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ส่วนเกณฑ์รอบเอวจะใช้รอบเอวปกติต้องไม่เกินส่วนสูงของตนเองหารด้วยสอง โดยใช้ร่วมกันทั้งคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ

กรมอนามัย แนะวิธีลดน้ำหนัก แบบปรับพฤติกรรม ไม่กระทบสุขภาพ

​ทางด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ที่ต้องการลดอ้วน ลดพุง สามารถปรับพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดย:

  • การกินอาหารให้ตรงเวลามีความหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วน 2:1:1 คือ ผักหลากสี 2 ส่วน เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน ข้าว แป้ง 1 ส่วน
  • ลดการกินอาหารประเภท หวาน มัน เค็ม ชา กาแฟ ขนมเบเกอรี
  • ควรดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน
  • ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ไม่คิดฟุ้งซ่าน