SMEยุทธวิธีเศรษฐีใหม่: ‘Packagingผู้สูงวัย’ ออกแบบโดนใจยิ่งเพิ่มโอกาส

“ผู้สูงวัย” กลายเป็น “ตลาดใหญ่” ที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการตอบสนองความต้องการผู้บริโภคกลุ่มนี้ และหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม

“การออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผู้สูงวัย” ที่เรื่องนี้ก็มีแนวทางน่าสนใจจากบทความโดยผู้เชียน คือ ภิญญาพัชญ์ คำมามูล ฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรม สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งได้ให้แนวทาง “หลักออกแบบ 5 ข้อ” ไว้ ที่วันนี้คอลัมน์นี้นำข้อมูลเรื่องนี้มาฝากกัน ทั้งนี้ ในบทความชื่อ การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ (Aging Society) ทางผู้เขียนได้ให้คำแนะนำว่า ลักษณะการเลือกซื้อสินค้าของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่ม Active Senior ซึ่งมีอายุระหว่าง 55-69 ปี ที่ยังมีร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคการใช้ชีวิตประจำวัน จะมีศักยภาพในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการเองเป็นส่วนใหญ่ โดยผู้บริโภคกลุ่มนี้มักให้ความสำคัญกับคุณภาพ มากกว่าราคาหรือแบรนด์สินค้า ผู้ประกอบการจึงควรออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและดูน่าใช้ ขณะเดียวกันต้องใช้งานง่าย กับมีคำอธิบายที่ระบุวิธีใช้ให้ชัดเจน โดยหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ สำหรับผู้สูงอายุมีอยู่ 5 เรื่องสำคัญ ดังต่อไปนี้

Packagingผู้สูงวัย

  1. ฝาบิดเปิดปิดง่าย เพื่อลดแรงบิด หรือเพื่อให้ผู้สูงอายุฉีกเปิดได้ง่าย และควรที่จะต้องออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น ให้ไร้ขอบคม ซึ่งข้อนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากซื้อผลิตภัณฑ์มาแล้วต้องใช้แรงในการเปิด ก็จะทำให้หมดความอร่อย หรือหากมีขอบคม จนทำให้บาดมือก็จะเป็นอันตรายได้
  2. มีน้ำหนักเบา และต้องจับถนัดมือ โดยควรออกแบบให้สามารถถือได้ง่าย เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายของผู้สูงวัยอาจไม่แข็งแรงเท่ากับคนหนุ่มสาว อีกทั้งหากจับได้ไม่ถนัดมือก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  3. มีคุณภาพ โดยควรออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บรักษาสินค้าไว้ได้นาน เพราะนอกจากจะเพื่อความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยลดความถี่ในการเดินทางไปซื้อสินค้าอีกด้วย และถ้าหากเป็นบรรจุภัณฑ์เดี่ยว ควรออกแบบช่องเทให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ติดกัน และสามารถปิดผนึกซ้ำได้ง่าย โดยไม่ส่งผลต่อคุณภาพของสินค้า หรือควรออกบรรจุภัณฑ์แบบแบ่งย่อยได้
  4. มีฉลากชัดเจน โดยออกแบบให้มีตัวอักษรที่ใหญ่ อ่านง่ายได้ชัดเจน และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นการมองเห็นก็เริ่มถดถอย รวมถึงต้องให้ข้อมูลที่ครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลทางโภชนาการเพราะเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้สูงวัย เพื่อที่จะได้เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับความต้องการได้อย่างเหมาะสม
  5. มีรูปภาพและภาษาโดนใจ โดยมีหลักออกแบบคือ ต้องไม่เน้นคำว่าผู้สูงอายุหรืออาวุโส และการออกแบบต้องสอดคล้องกับความชอบของผู้สูงอายุ กับมีพลิกแพลงการใช้สี เช่น สีตัวอักษรที่เห็นง่าย ความสมดุลของสีฉากหลัง เป็นต้น โดยสีที่ผู้สูงอายุชอบนั้น หากเป็นเพศชายคือ ฟ้า เขียว ส่วนผู้หญิงคือ ชมพู ส้ม และเขียว และไม่ควรใช้สีเหลือง เนื่องจากเลนส์ตาของผู้สูงอายุมักจะขุ่นมัวทำให้รับรู้สีเหลืองได้ยาก อีกทั้งการออกแบบต้องใช้รูปภาพและข้อความที่ดูเรียบง่าย เข้าใจง่าย และไม่ควรใช้สีในบรรจุภัณฑ์เกิน 4 สี

ข่าวออกแบบเพิ่มเติม >>> พช. มอบโล่เชิดชูนักออกแบบรุ่นใหม่ งานประกวด CDD Young Designer Contest

พช. มอบโล่เชิดชูนักออกแบบรุ่นใหม่ งานประกวด CDD Young Designer Contest

สานพระปณิธาน เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก” พช. เชิดชูเกียรตินักออกแบบรุ่นใหม่ จุดประกายผ้าไทยสู่สากล ในการประกวด CDD Young Designer Contest

เวลา 16.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย (พช.) เป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้ชนะเลิศการประกวด CDD Young Designer Contest และกล่าวให้โอวาท แก่ผู้ชนะเลิศฯ จากทั้ง 75 จังหวัด โดยมีคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมการพัฒนาชุมชน สื่อมวลชนและประชาชน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ ณ เวทีกลาง ชาเลนเจอร์ 2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ผมขอชื่นชมและขอบคุณ ผู้เข้าร่วมประกวด CDD Young Designer Contest ทุกคน จากทั้ง 75 จังหวัด ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ มาสร้างสรรค์ ออกแบบผลงาน ซึ่งผลงานทั้งหลายเหล่านี้ ได้ออกสู่สายตาต่อสาธารณชน ในงานกาล่าไนท์ ที่ผ่านมา และนำมาจัดแสดง ภายในงาน OTOP City ครั้งนี้ด้วยโดยรับเสียงตอบรับ ที่ชื่นชมในด้านการออกแบบ และความร่วมสมัยเป็นสากล ส่งเสริมผ้าไทยผสมผสานสู่แฟชั่นเครื่องแต่งกายที่สามารถสวมใส่ได้จริง เช่น ผ้าชนเผ่า ผ้าทอ ผ้ามัดหมี่ ผ้าบาติก เป็นต้น ถือได้ว่าเป็นสืบสาน รักษา ต่อยอด

จากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงชุบชีวิตผ้าไทยให้กลับมาเป็นที่นิยม และกรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำ พระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่พระราชทานแก่วงการผ้าไทย ว่า “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือความสุขที่ได้เลือกใช้ศิลปะ หัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริม กระตุ้น ผ้าไทยให้เป็นที่นิยม สู่สากล สามารถใส่ได้ทุกเพศ ทุกวัย

ข่าวออกแบบ

การดำเนินงาน CDD Young Designer Contest ในวันนี้ถือเป็นวันที่เรา ร่วมยกย่อง ชื่นชม ผู้ชนะเลิศ ทั้ง 75 จังหวัด 75 ผลงาน เป็นการค้นพบเพรชเม็ดงามทั้ง 75 เม็ด ซึ่งเป็นผลงานที่ดี แสดงถึงพลังของคนรุ่นใหม่ ในการต่อยอดอัตลักษณ์ผ้าไทย ต่อยอดในที่นี้ ก็คือ สร้างสรรค์ผ้าไทย ให้ร่วมสมัย ตามคอนเซ็ปต์ “ผ้าไทย ใส่ได้ทุกวัน ไม่มีเบื่อ EVERYDAY EVERYWEAR”

อันจะส่งผลให้ผู้ผลิตผู้ประกอบการผ้าไทยในระดับชุมชน มีอนาคตที่สดใส เนื่องด้วย ผ้าไทย ได้รับการพัฒนา ต่อยอด ส่งเสริมและสวมใส่ผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เพียงอย่างเดียว แต่สามารถรังสรรค์เป็นเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างมากมาย โดยใช้วัตถุดิบและภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าที่สวมใส่ได้จริง และคงความเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ได้อย่างดีเยี่ยม

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ชนะเลิศการประกวด ร่วมถึงผู้เข้าร่วมการประกวดทุกคน สามารถนำประสบการณ์ที่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ช่วยจุดประกายและสร้างความภาคภูมิใจ นำไปสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชนในภายภาคหน้า และขอให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จงภาคภูมิใจว่า พวกท่านคือ ผู้ที่มีส่วนช่วยในการ สืบสาน รักษา และต่อยอด ผ้าไทย สร้างสรรค์ ออกแบบ และเพิ่มมูลค่า

ให้กับผ้าไทยได้มีช่องทางการตลาดและเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการ OTOP ผ้าไทย อันจะเป็นการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย มุ่งดำเนินกิจกรรม CDD Young Designer Contest ในปีต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรบุคคล เป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ (Young Designer) สมดั่งพระปณิธาน ขของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในการพัฒนาผ้าไทย มรดกของความเป็นไทย ให้ร่วมสมัย สามารถยกระดับสู่สากล เพื่อสร้างวิถีชุมชนที่ยั่งยืน

“การตลาดผ้าไทยต้องดีขึ้นแน่นอน มั่นใจว่าผ้าไทยที่ถูกตัดเย็บจากฝีมือคนรุ่นใหม่จะถูกใจคนรุ่นใหม่ด้วยกัน ผู้บริโภคชุดผ้าไทยจะเพิ่มขึ้น รายได้ก็จะมีการจายอย่างทั่วถึงทั้งร้านตัดเย็บ ผู้ทอ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม รวมทั้งมีนัยยะส่งผลโดยตรงกับการลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศจากการนำเข้าเสื้อผ้าจากต่างประเทศ โดยผู้บริโภคคนรุ่นใหม่กลับมานิยมผ้าไทยแทน มั่นใจว่าส่งผลดีโดยตรงต่อการเพิ่มพูนรายได้อย่างแน่นอน” อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ดีไซน์ชิ้นเก่ง ผลงานสร้างชื่อดีไซเนอร์โลก

ดีไซน์ชิ้นเก่ง ผลงานสร้างชื่อดีไซเนอร์โลก

ตอกย้ำความเป็นผู้นำเทรนด์เฟอร์นิเจอร์แบรนด์ดังของเมืองไทย MOTIF ภูมิใจเสนอผลงานชิ้นมาสเตอร์พีซระดับไอคอน

ซึ่งเหล่านักออกแบบชื่อดังมือรางวัลโลกพร้อมใจสร้างสรรค์ไอเดียให้บรรเจิด เพื่อถ่ายทอดมุมมองความคิดใหม่น่าตื่นตาตื่นใจ นำขบวนโดย “มาร์เซล แวนเดอร์ส” นักออกแบบผลิตภัณฑ์ และอินทีเรียดีไซเนอร์ชื่อดังชาวดัตช์ ที่โด่งดังสุดขีดจากผลงานออกแบบ “เก้าอี้ดีไซน์แปลกตา Knotted Chair” ให้แบรนด์ Cappellini เมื่อปี 1996 จากนั้นเขาร่วมก่อตั้งแบรนด์ Moooi สร้างปรากฏการณ์ฮือฮาให้วงการตกแต่งบ้าน ด้วยผลงานแปลกใหม่สนุกสนาน แต่สามารถจับต้องได้ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวยากเลียนแบบ

อีกหนึ่งดีไซเนอร์ผลงานโดดเด่นแห่งยุคคือ “คริสโตเฟอร์ พิลเลต์” มีคาแรกเตอร์งานออกแบบแตกต่างจากดีไซเนอร์ฝรั่งเศสทั่วไป เพราะเข้าถึงได้ง่าย และไม่ซับซ้อน เขาผสมผสานกลิ่นอายงานออกแบบฝรั่งเศส อิตาลี และอเมริกา เข้าด้วยกัน ถ่ายทอดเป็นความเรียบหรู สง่างามในสไตล์มินิมัลลิสต์ แต่ไม่ละทิ้งความลักซ์ชัวรี่ ผลงานการออกแบบของเขาที่ฮิตฮอต มีอาทิ คอลเลกชั่น Ocean Drive sofa จากแบรนด์ Lema และคอลเลกชั่น Millenium Drive sofa ของแบรนด์ Kristalia

ดีไซน์ชิ้นเก่ง

เมื่อเอ่ยถึงชื่อ “คาร์ล ลาเกอร์เฟลด์” ไม่มีแฟชั่นนิสต้าคนไหนไม่รู้จัก เขายังสร้างสรรค์ผลงานไว้ในแวดวงดีไซน์ โดยหนึ่งในไอเท็มเด็ดที่กลายเป็นชิ้นหายากคือ “Candle Karl” เทียนหอมที่เกิดจากความร่วมมือของ “คาร์ล” กับ “ฌองปอล เวลตัน” นักออกแบบน้ำหอมชื่อดัง ที่อยากนำเสนอเครื่องเรือนชิ้นหรูสะท้อนตัวตนดีไซเนอร์คนดัง งานนี้กลิ่นซินนามอน ถูกเลือกเป็นกลิ่น top notes เพราะเป็นกลิ่นโปรดของ “คาร์ล” ผสมกับความสดชื่นของผลไม้จำพวกส้ม และแต่งเติมกลิ่นด้วยความละเอียดอ่อนของพริกไทยสีชมพู

สำหรับ “คาร์โล โคลอมโบ” ดีไซเนอร์ชาวอิตาเลียน สร้างชื่อจากผลงานออกแบบ “The Kyoto Bed” จนกลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด่นกวาดรางวัลนับไม่ถ้วน เขาได้ร่วมโปรเจกต์กับแบรนด์ดีไซน์ชั้นแนวหน้าของโลกมากมาย อาทิ Penta, Nube และ Galotti & Radiceโดดเด่นมีเอกลักษณ์ไม่แพ้ใครยังรวมถึง “ไจเม ฮายอน” ศิลปินดังชาวสเปน ผู้ผันตัวมาเป็นดีไซเนอร์ เขาสร้างชื่อจากการจัดนิทรรศการแสดงผลงานแนวอินสตอลเลชั่นตามพิพิธภัณฑ์ศิลปะชื่อดังทั่วทุกมุมโลก กระทั่งปัจจุบัน ใช้ความสามารถด้านงานฝีมือผนวกไอเดียสุดล้ำ สร้างสรรค์เป็นศิลปะร่วมสมัย ที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะ การตกแต่ง ดีไซน์ ความประณีต และการสร้างสรรค์เนื้องาน ปัจจุบันเขาเป็นหนึ่งในผู้สร้างสรรค์งานออกแบบ ที่ได้รับรางวัลจากผลงานดีไซน์มากที่สุดคนหนึ่งของโลก โดยได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ให้เป็นบุคคลสำคัญแห่งยุคในแวดวงดีไซน์ ผลงานสร้างชื่อที่นักสะสมทั้งโลกดิ้นรนอยากครอบครองคือคอลเลกชั่น Elements จากแบรนด์ Moooi

อ่านข่าวเพิ่มเติม : รฟม.แจ้งปิดเบี่ยงจราจร ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งขาเข้า 10 ธ.ค.65 – 5 ม.ค.66

รฟม.แจ้งปิดเบี่ยงจราจร ถ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งขาเข้า 10 ธ.ค.65 – 5 ม.ค.66

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับจ้างงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) สัญญาที่ 4 ช่วงสะพานพุทธ – ดาวคะนอง มีความจำเป็นต้องปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อดำเนินงานรื้อย้ายเกาะกลาง เพื่อขยายช่องจราจร ระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม 2565 – 5 มกราคม 2566 ดังนี้

จุดที่ 1 ปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งขาเข้า ชิดเกาะกลาง บริเวณซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 6 ถึง อนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ข่าวออกแบบล่าสุด

จุดที่ 2 ปิดเบี่ยงจราจรบนถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฝั่งขาเข้า ชิดเกาะกลาง บริเวณกรมการแพทย์ทหารเรือ ถึงซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 20โดยมีผลให้ช่องจราจรฝั่งขาเข้า เหลือ 3 ช่องทาง และฝั่งขาออก เหลือ 4 ช่องทาง

ทั้งนี้ การปิดเบี่ยงจราจร เพื่อดำเนินงานดังกล่าว อาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และอาจมีเสียงดังรบกวนในวันเวลาดังกล่าว ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทาง รฟม.ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> โคมไฟใยกล้วย! สวย สว่าง จากวัสดุธรรมชาติ

โคมไฟใยกล้วย! สวย สว่าง จากวัสดุธรรมชาติ

โคมไฟใยกล้วย! สวย สว่าง จากวัสดุธรรมชาติ

ออกแบบ

กระแสการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนถือว่ามาแรงมากในปี 2021 ล่าสุดมีแบรนด์ออกไอเดียเก๋ ใช้ไฟเบอร์จากกล้วยมาทำเป็นโคมไฟ!

โคมไฟไอเดียดีที่ว่าคือ “Nuclée” ผลงานจากคู่หูนักออกแบบชาวฝรั่งเศส Cordélia Faure & Dorian Etienne จาก ENSCI Les Ateliers ซึ่งได้นำเนื้อกล้วยเหลือทิ้งมาพัฒนาเป็นโคมไฟ แทงมวยสเต็ป2 โดยกว่าจะออกมาเป็นโปรดักส์ตัวนี้ได้พวกเขาใช้เวลาพัฒนากว่า 6 เดือนที่สถาบันวิจัยหัตถกรรมแห่งชาติไต้หวัน ( National Taiwan Craft Research Institute (N.T.C.R.I.) เลยทีเดียว

ในที่สุดก็ได้ผลงานเป็นโคมไฟแบบมินิมอลที่มีโครงสร้างรูปวงกลมไม้ไผ่ล้อมรอบใยกล้วย ซึ่งพวกเขาได้ทำการวิจัยและทดลองจนสามารถรักษาเสถียรภาพของเนื้อเยื่อพืชโดยใช้เทคนิคการกลั่นแบบเฉพาะ และการใช้ความร้อนและความดันที่เหมาะสม จากนั้นจึงขึ้นรูปด้วยไม้ไผ่ดัดงอที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงสร้างภายในของก้านกล้วยนั่นเอง

นอกจากนี้พวกเขายังได้ใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากับชนพื้นเมืองในใต้หวัน “Kavalan” เกี่ยวกับวิธีการใช้ไฟเบอร์จากกล้วย นอกจากนี้พวกเขายังได้ทดสอบปฏิกิริยาของวัสดุที่ใช้ต่อความร้อน, ความเย็น, ความชื้น, ความดัน, และการใช้งานร่วมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ด้วยความพิถีพิถันนี้เอง Nuclée จึงเป็นผู้ชนะโครงการ Best of Year” Grand Prize (New York, 2020) และ Green Product Award (Berlin, 2021) อีกด้วย ก็นับว่าเป็นอีกไอเดียการออกแบบที่นอกจากจะผสานความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนแล้ว ยังไม่ลืมที่จะเริ่มหันมามองวัสดุธรรมชาติให้มากขึ้น