หลุดสเปก Samsung Galaxy S23 FE

หลุดสเปกของ Samsung Galaxy S23 FE อาจจะใช้ขุมพลัง Exynos 2200 และเปิดตัวในปลายปีนี้

แม้ว่า Samsung Galaxy S23 FE ถือว่าเป็นอีกมือถือที่มีความไม่แน่นอนว่าจะเปิดตัวหรือไม่ แต่ล่าสุดนี้สำหรับใครที่รอคอยอยู่นี้มีข่าวจากทาง Sammobile ออกมาว่ามือถือรุ่นนี้จะเปิดตัวในช่วงปลายปี 2024 โดยจะเปิดตัวระหว่างเดือน ตุลาคม – ธันวาคม 2023

ข่าวเทคโนโลยี-การสื่อสาร

ทั้งนี้จากข้อมูลที่ปรากฏนั้นคาดว่า Samsung Galaxy S23 FE จะเลือกใช้ Rxynos 2200 ซึ่งแตกต่างจาก S23 FE ที่มีให้เลือกทั้ง Snapdragon และ Exynos ในบางตลาด ทั้งนี้รายละเอียดที่เหลือจะได้กล้องหลังความละเอียด 50 ล้านพิกเซล, แบตเตอรี่ 4500 mAh รองรับกำลัง 25W, ความจำภายใน 128 / 256GB พร้อมกับ RAM 6 – 8 GB ทั้งนี้ต้องรอติดตามกันต่อไปว่าจะได้สเปกแบบไหนวางตลาด

แนะนำข่าวเทคโนโลยี อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เทคโนโลยีเรือบินช่วยลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางเรือ

เทคโนโลยีเรือบินช่วยลดการปล่อยคาร์บอนของอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางเรือ

ไพโอเนียร์แห่งเบลฟาสต์ (Pioneer of Belfast) ร่อนเหนือน้ำอย่างเงียบเชียบและราบเรียบ แทบไม่ทิ้งรอยคลื่นไว้เบื้องหลังเลย

“แม้ท่ามกลางคลื่นลูกใหญ่และลมพัดแรง เราเห็นถึงข้อดีของการบินเหนือคลื่นได้” แคทรินา ธอมป์สัน ผู้อำนวยการโครงการของบริษัทอาร์ทิมิส เทคโนโลยีส์ (Artemis Technologies) กล่าว

เรือไพโอเนียร์ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยอาร์ทิมิส เทคโนโลยีส์ เป็นเรือที่ใช้ในการทำงานที่ใช้แผ่นปีกใต้น้ำและไฟฟ้าลำแรกของโลกที่มีการนำเข้ามาซื้อขายในตลาด

เทคโนโลยี

แผ่นปีกใต้น้ำ เป็นโครงสร้างที่คล้ายปีกอยู่ใต้เรือ เกมสล็อต ช่วยยกลำเรือขึ้นสู่ผิวน้ำซึ่งช่วยให้ลดการถ่วงลงได้มาก

นอกจากนี้ยังใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้า โดยอาร์ทิมิสบอกว่า เรือนี้ลดค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงลงได้ 90% และไม่ปล่อยมลพิษเลย

“มันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น” ดร.ธอมป์สัน

ดร.ธอมป์สัน เติบโตในเมืองเซเลอร์ทาวน์ ของเบลฟาสต์ ในช่วงอุตสาหกรรมหนักกำลังคึกคัก เธอใช้ชีวิตช่วงวัยเด็กกับการเล่นที่ท่าเรือ ขณะที่พ่อแม่ของเธอทำงานอยู่บนเรือ

เธอออกจากเบลฟาสต์ไปเป็นวิศวกรการบิน ออกแบบเครื่องบินให้กับโรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) และบอมบาร์ดิเอร์ (Bombardier) จากนั้นเธอก็กลับบ้านเกิดพร้อมกับความเชี่ยวชาญในด้านนี้

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> เครื่องยนต์ขับดันพลังเลเซอร์-ความร้อน อาจช่วยย่นเวลาเดินทางจากโลกไปดาวอังคารเหลือ 45 วัน

เครื่องยนต์ขับดันพลังเลเซอร์-ความร้อน อาจช่วยย่นเวลาเดินทางจากโลกไปดาวอังคารเหลือ 45 วัน

เครื่องยนต์ขับดันพลังเลเซอร์-ความร้อน อาจช่วยย่นเวลาเดินทางจากโลกไปดาวอังคารเหลือ 45 วัน

สหรัฐฯ และจีนมีแผนจะส่งมนุษย์อวกาศไปยังดาวอังคารให้ได้ ภายในระยะเวลาสิบปีข้างหน้านี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการสำรวจและตั้งอาณานิคมถาวรบนดาวอังคาร ก็คือระยะทางที่ห่างไกลระหว่างโลกกับดาวเคราะห์สีแดง ซึ่งปัจจุบันจะต้องใช้เวลาราว 6-9 เดือนในการเดินทาง หากยานอวกาศใช้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ขับดันแบบที่มีอยู่ในขณะนี้

เพื่อให้การเดินทางระหว่างดวงดาวใช้เวลาน้อยลง จนสามารถขนส่งผู้คนและวัสดุต่าง ๆ ไปต่อยอดการสำรวจได้อย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งขึ้น ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ (McGill University) ของแคนาดา ได้ออกแบบและประเมินศักยภาพของระบบขับดันเลเซอร์-ความร้อน (Laser-thermal propulsion system) ซึ่งใช้เลเซอร์ยิงให้ความร้อนกับเชื้อเพลิงไฮโดรเจน จนพบว่าระบบดังกล่าวสามารถนำยานอวกาศไปถึงดาวอังคารได้ ภายในเวลา 45 วันเท่านั้น

รายงานวิจัยข้างต้นซึ่งกำลังรอการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร Astronomy & Astrophysics ระบุว่าเครื่องยนต์ขับดันที่ออกแบบมาในครั้งนี้ สามารถทำให้ยานอวกาศที่บรรทุกสัมภาระหนัก 1 ตัน เร่งความเร็วขึ้นเป็น 17 กิโลเมตรต่อวินาทีได้ หลังจากทะยานขึ้นไปถึงวงโคจรระดับกลางของโลกแล้ว

เทคโนโลยี

สำหรับการทำงานของระบบขับดันดังกล่าว จะใช้แผงยิงเลเซอร์ขนาดใหญ่บนพื้นโลกที่มีความกว้างราว 10 เมตร หรือเท่ากับสนามวอลเลย์บอล ยิงลำแสงเลเซอร์อินฟราเรดขึ้นไปยังห้องเก็บเชื้อเพลิงไฮโดรเจนของยานที่อยู่ในอวกาศ โดยมีแผ่นสะท้อนแสงเลเซอร์บนตัวยานคอยปรับให้ยิงได้ตรงตำแหน่ง ทำให้ไฮโดรเจนกลายเป็นพลาสมาร้อนที่มีอุณหภูมิสูงถึง 40,000 เคลวิน

ไอพ่นขับดันพลังสูงที่เกิดขึ้นจากพลาสมาร้อน จะส่งให้ยานที่ยังอยู่ในห้วงอวกาศใกล้โลก ทะยานออกพ้นขอบเขตวงโคจรของดวงจันทร์ได้ภายใน 8 ชั่วโมงเท่านั้น โดยยานจะคงความเร็วอยู่ที่ระดับ 16-17 กิโลเมตรต่อวินาที จนไปถึงดาวอังคารได้ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนครึ่ง

ส่วนการลงจอดนั้นอาจมีความยากลำบากอยู่ในระยะแรก เพราะยังไม่มีการติดตั้งระบบที่ใช้เลเซอร์ชะลอความเร็วของยานบนดาวอังคาร ทั้งไม่สามารถติดตั้งเครื่องยนต์จรวดชะลอความเร็วตามปกติได้ เพราะจะทำให้ยานมีน้ำหนักมากเกินพิกัดที่กำหนดไว้ ทีมวิศวกรผู้ออกแบบจึงคาดว่าจะต้องใช้วิธีแอโรเบรกกิง (Aerobreaking) หรือใช้แรงเสียดทานจากชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ร่วมกับการปรับวิถีโคจรของยานให้ชะลอความเร็วลง เพื่อให้สามารถลงจอดได้ในที่สุด